หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

อุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย

อุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า
อุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย ถ้าหากน้ำแข็งบนแผ่นดินกรีนแลนด์ ละลายหมด น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 5-7 เมตร และนี่คือแผนที่ประเทศไทยเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น 7 เมตร แผ่นดินกรุงเทพฯ อยุธยา สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร จะถูกน้ำท่วม เราควรเตรียมการ #ไม่ตะหนก #แต่ตระหนัก

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ดู Timeline อุณหภูมิโลกจากปี ค.ศ. 1884 - 2018 https://climate.nasa.gov/vital-signs/global-temperature/
น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อน้ำแข็งบนแผ่นดินละลาย แต่ภูเขาน้ำแข็งในทะเลละลายไม่มีผลกับน้ำทะเลสูงขึ้น ลองทดลองใส่น้ำแข็งในแก้วแล้วรอดูจนละลาย น้ำในแก้วไม่เพิ่ม https://oceanservice.noaa.gov/facts/sealevel.html
ถ้าโลกนี้น้ำแข็งละลายหมดหน้าตาจะเป็นอย่างไร https://www.nationalgeographic.com/…/rising-seas-ice-melt-…/
วิดีโอ
https://m.youtube.com/watch?v=VbiRNT_gWUQ
ทดลองเพิ่มระดับน้ำทะเลด้วยตนเอง แล้วดูว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ใส่ข้อมูล THAILAND ระดับความสูงของน้ำทะเล 7 metres http://www.floodmap.net/
แหล่งที่มาของข้อมูล ระดับน้ำสูงขึ้น 5-7 เมตร เมื่อน้ำแข็งที่ กรีนแลนด์ ละลายหมด คลิก Sea Level เลือก Southeast Asia
https://climate.nasa.gov/interactives/climate-time-machine
Credit : สำรวจโลก,GoodTV, www.tv.co.th

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

การอบรมวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

การอบรมวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ระหว่างวันที่  22 – 27  เมษายน  2562)
…………………………………………………………………………………
วันที่ 1 ของการฝึกอบรม  (22 เมษายน 2562)
วันที่ 2 ของการฝึกอบรม  (23 เมษายน 2562)
วันที่ 3 ของการฝึกอบรม  (24 เมษายน 2562)
วันที่ 4 ของการฝึกอบรม  (25 เมษายน 2562)
ธรณีพิบัติภัย / การวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้
วันที่ 5 ของการฝึกอบรม  (26 เมษายน 2562)
วันที่ 6 ของการฝึกอบรม  (27 เมษายน 2562)

แบบทดสอบก่อนเรียนQuiz   ( ดาราศาสตร์และอวกาศธรณีวิทยาโครงสร้างโลก อุตุนิยมวิทยา ลมฟ้าอากาศ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สสวท.

ข้อมูลการเรียนรู้รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ
หนังสือเรียนจาก สสวท.


หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เล่ม 1
มัธยมศึกษาปีที่ 4
>สารบัญ<
บทที่ 1 โครงสร้างโลก
บทที่ 2 การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
บทที่ 3 ธรณีพิบัติภัย
บทที่ 4 ลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
ราคา 57 ฿


หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เล่ม 2
มัธยมศึกษาปีที่ 4
>สารบัญ<
บทที่ 5 ทรัพยากรธรณี
บทที่ 6 แผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา

ราคา 75 ฿



หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เล่ม 3
มัธยมศึกษาปีที่ 5
>สารบัญ<
บทที่ 7 สมดุลพลังงานของโลก
บทที่ 8 การหมุนเวียนของอากาศบนโลก
บทที่ 9 การหมุนเวียนของน้้ำในมหาสมุทร


ราคา 42 ฿



หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เล่ม4 
มัธยมศึกษาปีที่ 5 
>สารบัญ<
บทที่ 10 การเกิดเมฆ
บทที่ 11 การเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ
บทที่ 12 ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์


ราคา 45 ฿





หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้น ม. 6
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 
>สารบัญ<
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โลกในเอกภพ
บทที่ 1 เอกภพ
บทที่ 2 ดาวกฤษ์
บทที่ 3 ระบบสุริยะ
บทที่ 4 เทคโนโลยีอวกาศ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การะบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก
บทที่ 5 โครงสร้างโลก
บทที่ 6 การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
บทที่ 7 ธรณีพิบัติภัย


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
บทที่ 8 การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
บทที่ 9 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
บทที่ 10 ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์


ราคา 102 ฿

**** สั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ call center 02-255-4433




รวบรวมและจัดทำโดย.....
นายวีระชัย   จันทร์สุข



วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

หน่วยวัดระยะทางของดวงดาว

หน่วยวัดระยะทางของดวงดาว

        ตัวอย่างเช่น  ดาว Betelgeuse ในกลุ่มดาวนายพราน  มีระยะทาง  652 ปีแสง หรือ 200 พาร์เซค มีมุมพารัลแลกซ์ประมาณ 5.0 มิลลิฟิลิปดา (milli-arc second)  แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร


หน่วยแรก  ปีแสง
       ปีแสง คือ หน่วยที่อ้างอิงจากการเดินของแสงในระยะเวลา 1 ปี แล้วอยู่ได้อย่างไรว่าแสงเดินทางได้เท่านี้ คำตอบคือ เรารู้ว่าอัตราเร็วของแสงมีค่าโดยประมาณเท่ากับ 300,000,000 เมตร/วินาที (สามร้อยล้านเมตรต่อวินาที) เขียนให้ดูสั้น ๆ  3 x 10^8 เมตร/วินาที  สำหรับคนที่ไม่เก่งด้านตัวเลขนั้น  เลขยกกำลัง คือ จำนวนการคูณซ้ำของเลขฐาน  เช่น 10^2 ก็คือ 10 x 10  หรือ 5^10 ก็คือ 5x5x5x5x5x5x5x5x5x5 ห้าคูณกัน 10 ครั้ง  ทีเราก็เทียบเลยว่า


เราก็จะได้ ระยะทาง ใน 1 ปี แสง



หน่วยที่สอง  AU 

    AU ย่อมาจาก Astronomical unit ซึ่งหมายถึง ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์กำหนดให้มีค่าเป็น 1 AU   วัดออกมาเป็นหน่วยที่เราคุ้น ๆ กัน เท่ากับ   1.496 x 10^8   กิโลเมตร  ( 1 AU มีค่า
หนึ่งร้อยสี่สิบเก้าล้านหกแสนกิโลเมตร หรือ ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร )



หน่วยที่สาม  พาร์เซค , pc (Parsec)   

พาร์เซค ย่อมาจาก parallax of one arc-second  หน่วยนี้ใช้ความรู้นิดหนึ่งครับ  ลองเหยียดแขนตรงแล้วชูนิ้วชี้ขึ้นระดับสายตา แล้วลองหลับตาข้างซ้ายสลับกับตาข้างขวามองนิ้วชี้นั้น
จะสังเกตเห็นว่า นิ้วชี้นั้น ไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเทียบกับฉากหลัง หลับตาข้างซ้าย
นิ้วชี้จะเคลื่อนไปด้านซ้าย หลับตาข้างขวา นิ้วชี้จะเคลื่อนไปด้านขวา นั่นคือ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปรากฏ เมื่อมองผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า
ปรากฏการณ์พารัลแล๊กซ์ ( Parallax )


จากภาพเรา เปรียบเทียบ การทดลองชูนิ้วชี้แล้วสลับมองด้วยตาซ้ายขวาได้ว่า

เมื่อโลกอยู่ตำแหน่งที่ 1 เสมือนเรามองนิ้วชี้ด้วยตาข้างขวาปิดตาข้างซ้าย
ภาพที่ปรากฎจะเคลื่อนไปทางซ้าย

เมื่อโลกอยู่ตำแหน่งที่ 2 เสมือนเรามองนิ้วชี้ด้วยตาข้างซ้ายปิดตาข้างขวา
ภาพที่ปรากฎจะเคลื่อนไปทางขวา

จากนั้นเอาคณิตศาสตร์เรื่องตรีโกณมิติแบบพื้นฐานมาประยุกต์ใช้

นั่นคือ  ค่าของมุม tan P (มุมพารัลแล๊กซ์) = อัตราส่วนระหว่างระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวดวงนั้น

มุม tan P (มุมพารัลแล๊กซ์) นี้จะมีหน่วยเป็นองศา  แต่เนื่องจาก ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดวงดาวนั้นไกลมาก ทำให้ ค่าของมุม tan P มีค่าน้อยมาก ๆ จึงประมาณค่ามุมดังกล่าวใหม่ว่า

ค่าของมุม P (มุมพารัลแล๊กซ์) = อัตราส่วนระหว่างระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวดวงนั้น

โดยที่ค่ามุม P (มุมพารัลแล๊กซ์) นี้จะมีหน่วยเป็นเรเดียน


มุมองศา กับ มุมเรเดียน ต่างกันอย่างไร

     มุมองศา คือ มุมที่เราเดินทางไปตามเส้นรอบวงกลม ถ้าเราเดินตามเส้นรอบวงกลมได้ครบ 1 รอบพอดี  มุมที่กวาดได้ ณ.จุดศูนย์กลางจะมีค่าเท่ากับ 360 องศา ดังนั้น มุม 1 องศา ก็กำหนดได้จากการที่เราเดินตามเส้นรอบวงกลมไป 1 ใน 360 ส่วนของระยะเส้นรอบวงกลม

    มุมเรเดียน คือ มุมที่เราเดินทางไปตามเส้นรอบวงกลมเหมืนกันครับ  แต่เราเดินตามเส้นรอบวงกลมให้ได้ระยะเท่ากับรัศมีของวงกลมนั้นพอดี  มุมที่กวาดได้ ณ.จุดศูนย์กลางจะมีค่าเท่ากับ  1 เรเดียน

ภาพบนคือ มุมองศา  ภาพล่าง คือ มุมเรเดียน
มุมองศาและมุมเรเดียน นั้น มีความสัมพันธ์ คือ


จาก ค่าของมุม P (มุมพารัลแล๊กซ์) = อัตราส่วนระหว่างระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวดวงนั้น

เราสามารถเขียนเป็นสมการทางคณิศาสตร์ได้ดังภาพ



ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ =  1AU
ค่าของมุม P (มุมพารัลแล๊กซ์หน่วยเรเดียน) เราสามารถวัดได้
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวดวง = D
ระยะทาง 1 พาร์เซค ; pc  ก็คือ ระยะทาง D ที่ค่าของมุมพารัลแล๊กซ์ (P) เท่ากับ 1 ฟิลิปดา
ระยะ 1 พาร์เซค มาอยู่ในหน่วยที่เราคุ้นเคยกันดีกว่า

จากภาพด้านล่าง


ตัวเลขคิด ออกมาได้เท่ากับ 206,181.81 AU
หมายความว่า ระยะทาง 1 พาร์เซค จะมีค่าเป็น 206,181.81 เท่าของระยะทางเฉลี่ย
ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์  (AU)

ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ = 150 ล้านกิโลเมตร

1 พาร์เซค = 206,181.81 x 150,000,000   กิโลเมตร

และ 1 พาร์เซค = 3.26 ปีแสง


ที่มา : https://pantip.com/topic/36814027




แมกนิจูด ไม่ได้มาแทนคำว่า ริกเตอร์ 

แมกนิจูด ไม่ได้มาแทนคำว่า ริกเตอร์ เพราะมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ใช้แทนกันไม่ได้ แต่ใช้เสริมกันได้
(แมกนิจูด เป็นคำประกอบ ใช้หรือไม่ก็ได้)
- แมกนิจูด คือ ขนาด เมื่อก่อนใช้กับเรื่องอื่น เช่น ความสว่างของดาว แต่ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์
เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับแผ่นดินไหว
- ริกเตอร์ เป็น มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว ตัวย่อ ML นอกจากนี้ยังมี มาตราโมเมนต์ (Mw)
มาตราคลื่นผิว (MS) มาตราคลื่นตัวกลาง (mb)
- มาตราริกเตอร์ เกิดก่อนมาตราอื่น ข้อดีคือ คำนวนได้เร็วสุด แต่ใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหว
ไม่เกิน 600 กิโลเมตร หรือเต็มที่ไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร เหมาะกับประเทศเล็ก เช่น ไทย ไต้หวัน,
ประเทศใหญ่ๆ จะไม่ใช้ริกเตอร์
ตัวอย่างการใช้คำ....
- แผ่นดินไหว 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวขนาด 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.5 ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 2.5 แมกนิจูด ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ ที่แม่ฮ่องสอน (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
- แผ่นดินไหวขนาด 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.5 ตามมาตราริกเตอร์ที่แม่ฮ่องสอน
- แผ่นดินไหว 7.8 ที่เนปาล (ไม่แน่ใจว่าข่าวเป็นมาตราอะไรก็ไม่ต้องใส่มาตรา
อย่าใส่ริกเตอร์เข้าไปเอง เพราะเขาอาจวัดด้วยมาตราอื่น)
ที่มา: JIMMY'S BLOG



ถ้าเป็นตัวเลขจาก USGS จะใช้มาตราโมเมนต์แมกนิจูด (Moment Magnitude Scale)
มาตราเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวเลข  ไม่มีหน่วยแต่ประการใด ถ้าจะเรียกให้สละสลวยและถูกต้องในภาษาไทย
ก็น่าจะใช้คำว่าแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.8 ตามมาตราโมเมนต์แมกนิจูด
ที่มา http://earthquake.usgs.gov/learn/topics/measure.php
* กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS)

ขนาด (Magnitude)
       เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน
คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว
โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตามมาตราริกเตอร์
มีขนาดตั้งแต่ 1-9 ตามมาตราริกเตอร์

ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity)
       แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด
และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศ
ที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้นในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ
ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ  เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก
ที่มา : https://pantip.com/topic/33577516

การรายงานข่าวแผ่นดินไหว
รวบรวมโดย  Weerachai Jansook

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ESS

เแนะนำเว็บไซต์สำคัญสำหรับการเรียนรู้ ESS
กำหนดการสอน
คำอธิบาย_จปส.ตัวชี้วัด
คุณภาพผู้เรียน
โครงสร้างการจัดการเรียนรู้
แผนการวัดการประเมินผล
คำอธิบายรายวิชาโลกทั้งระบบ1
คำอธิบายรายวิชาโลกทั้งระบบ2
ฟอร์มเค้าโครงงานวิจัย

PPT _เริ่มต้นกับวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ





วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Do Now

Do Now
     เป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คุณค่าของกิจกรรม
- ทบทวนเรื่องที่เรียนผ่านมา
- เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนรู้
- สนุกก่อนเรียนรู้
- เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน
- ให้ความรัก ก่อนให้ความรู้







Powerpoin ..เกมนำGoogle










Playlist...เกมนำ
https://www.youtube.com/playlist?list=PLNMDRXKhHRixm1OqFsNhJmRLf7VLc6eRN


QRCode

QRCode
QR Codeมิติทางการเงิน
เป็นประโยชน์ในเรื่อง
- จ่ายเงินด้วย QR Codeทำให้มีความเป็นสากล ลดความซับซ้อนในการจัดการ ไม่ต้องพกเงินสด
- เพิ่มช่องทางในการชำระเงินที่สะดวก ลดต้นทุนให้กับประชาชนและร้านค้า ทำให้จัดการบัญชีดีขึ้น เพราะง่ายกว่าการทำธุรกรรมด้วยเงินสด
- เพิ่มความปลอดภัยในการชำระเงิน มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่ต้องบอกเลขบัญชี ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต/เดบิต ไม่ต้องบอกเบอร์มือถือ เพียงแค่ใช้ QR Code สแกนเท่านั้น
- นำไปต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้หลากหลายในอนาคต เช่น การขอสินเชื่อ ไม่ต้องใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกันเหมือนอย่างที่เคยทำมา
(*)ยิ่งจ่ายง่ายต้องยึด"สติ". ไว้ให้มั่นเดียวเงินจะหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวจะมีหนี้สินเพิ่ม
Edu_Apps
Website สร้างQRCode
Playlist Youtube
https://www.youtube.com/playlist?list=PLNMDRXKhHRixeGWEk_qWh0renGviNwL0l


Flipped Classroom

Flipped Classroom

https://www.youtube.com/playlist?list=PLNMDRXKhHRixwbnuXm69czg8e6pEf5arG

ผู้ติดตาม