หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

KWL

วิธีสอนแบบ K-W-L
กระบวนการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านตาราง 3 ช่อง K-W-L
(What I already know/ what I want to know/ what I have learned) ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ เดิมกับประสบการณ์ใหม่
เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L (K-W-L Learning Technique)
มยุรี  อรรฆยมาศ*
        หลังจากที่พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545  ได้มีการปฏิรูปการศึกษาและ
ในมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
และเต็มตามศักยภาพ   ซึ่งทำให้ครูทั้งหลายจำเป็นต้องพัฒนาวิธีเรียนและปรับเปลี่ยนวิธีสอนมุ่งสู่การจัดการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
        ในการปรับเปลี่ยนวิธีสอนของครูหลังปฏิรูปการศึกษาได้มีความหลากหลายจากแนวคิดการจัดการศึกษาที่
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  ผู้เรียนสำคัญที่สุด
และการจัดกระบวนการจัดการศึกษาต้องมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
เพื่อให้สอดคล้องการการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอนของครูเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    และวิธีสอนแบบ K-W-L กระบวนการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านตาราง 3 ช่อง
K-W-L (What I already know/ what I want to know/ what I have learned) ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
 ก็เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่สนับสนุนแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L
พัฒนาขึ้นโดย Dr. Oga I Koroleva ในปี 1986 เพื่อนำมาใช้ในชั้นเรียน ซึ่งจัดว่าเป็นเทคนิคการเรียนรู้
อีกแบบหนึ่งที่เสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดความคงทนทางการเรียนที่ยาวนานมากกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ ที่มีผู้สอนเป็นผู้นำในชั้นเรียน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้ได้ผลดี สามารถใช้ได้ทั้งผู้เรียนรายบุคคลหรือผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็ก ๆ และกลุ่มใหญ่   


เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นรู้ = K (Know) ผู้สอนจะต้องตั้งประเด็นผู้สอนจะตั้งประเด็น (หรือหัวข้อบทเรียน)
ให้ผู้เรียนทุกคนทราบ หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้คิด และให้ผู้เรียนแต่ละคน (หรือแต่ละกลุ่ม)
ได้เขียนสาระต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้สอนตั้งไว้ในกระดาษที่ผู้สอนแจกให้
2. ขั้นต้องการเรียน = W (Want)  หลังจากที่ผู้เรียนบันทึกสาระต่าง ๆ ที่ตนเองมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็น
(หรือหัวข้อบทเรียน) ที่ผู้สอนตั้งไว้แล้ว ผู้สอนจะให้ผู้เรียนบันทึกถึงความต้องการที่เกี่ยวกับสาระ
หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะบันทึกเป็นหัวข้อ ย่อย ๆ
ก็ได้ ถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่ม สามารถให้กลุ่มช่วยกันคิดว่า ต้องการเรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติม
ในหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดไว้หลังจากนั้น  จะมีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ
ซึ่งอาจให้ผู้สอนเป็นผู้นำชั้นเรียน หรือปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนแต่เพียงลำพังจากสื่อ ต่าง ๆ
ที่ผู้สอนจัดไว้ให้ หรืออาจจะให้ผู้เรียนออกไปค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อย่อย ๆ
ที่ผู้เรียนบันทึกไว้ในกระดาษช่อง W
3. ขั้นเรียนรู้แล้ว = L (Learned) ในขั้นสุดท้ายนี้ จะให้ผู้เรียนบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วจากขั้นตอนที่ผ่านมา ลงในกระดาษช่องทางขวามือที่เหลือ
และให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปว่า สิ่งที่ผู้เรียนรู้แล้ว (K) สิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียน (W)
และสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว (L) มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร และสรุปผลความรู้ที่ได้
        นอกจากนี้ แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L
ยังเตรียมความพร้อมและส่งเสริมผู้เรียนในเรื่องการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
รวมทั้งการส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกด้วย
โมเดล K-W-L เอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อผู้เรียน เช่น
- เป็นเครื่องมือนำทางที่เป็นรูปธรรมในการค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียน
- ช่วยระบุแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
- สามารถทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลได้ง่ายหลังจากเมื่อทราบแหล่งข้อมูล
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ให้พร้อมในระดับที่สูงขึ้น


วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L คือ
1. เป็นการกระตุ้นความอยากใคร่ใฝ่รู้ในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจจริงๆ กระตุ้นให้ค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจ ตกลงใจ และตระหนักในสิ่งที่อยากจะเรียนรู้หรือสนใจจริงๆ
และพัฒนาจนกลายเป็นข้อคำถามและความสงสัยส่วนตัว ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เรื่องนั้นต่อไป
3. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียน ความเข้าใจในบทเรียนได้ตลอดเวลา
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับการค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว       
        การจัดการเรียนการสอน K-W-L ยังช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้
เช่น การเขียนสื่อความ แปลความสรุปความ ความสวยงามของภาษา เป็นต้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้
กับผู้เรียนทุกระดับชั้น ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โมเดล K-W-L กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์
ความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญ
ของข้อมูล/ประสบการณ์เดิมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่รู้ผ่านโมเดล K-W-L
การประยุกต์ใช้แนวคิดโมเดล K-W-L


โดยหลักการแล้ว การนำแนวคิดโมเดล K-W-L ไปประยุกต์ใช้สามารถทำได้ ดังนี้
1. ระดมสมองผู้เรียนและรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับหัวข้อของบทเรียน
(“K” หรือ “What I Already Knew” คอลัมน์)
2. กระตุ้นผู้เรียน อภิปรายในสิ่งที่ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
3. วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
- วางเป้าหมาย
- กำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล/แหล่งข้อมูล
- วางแผนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
- ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
4. ประมวลข้อมูล สรุปผลตรวจสอบ เนื้อหา (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
5. สะท้อนการเรียนรู้ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ (“L” หรือ “What I Have Learned” คอลัมน์)
การจัดกิจกรรมผ่านแนวคิดโมเดล K-W-L สามารถจัดภายในระยะเวลาที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะจัดเพียง
หนึ่งคาบ หนึ่งสัปดาห์ สามสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน ขึ้นอยู่กับความลึกและปริมาณเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจ
การจัดเก็บข้อมูลควรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ชัดเจน ดูแล้วเข้าใจง่ายการเรียนรู้ผ่านแนวคิดโมเดล K-W-L
จำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักยอมรับและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ภายใต้บรรยากาศของการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ใน “K” หรือ “What I Already Knew”
คอลัมน์ หากข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนระดมสมองหรือนำเสนอมามีเนื้อหาไม่ถูกต้อง
ครูยังคงต้องเขียนลงในตาราง ทั้งนี้เพื่อจะนำสิ่งเหล่านี้เป็นจุดตั้งต้นในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใน
“W” หรือ “What I Want to Know”
ระหว่างดำเนินกิจกรรม เป็นหน้าที่ของครูที่จะคอยกระตุ้นผู้เรียนสังเกตและเก็บข้อมูล รายละเอียดต่างๆ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสรุปบทเรียนและติดตามความก้าวหน้าของการสร้างองค์ความรู้


 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม