หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

earth

โครงสร้างโลก

        สสารต่างๆภายในโครงสร้างโลก ประกอบไปด้วยหิน และแร่ธาตุต่างๆ  มีสถานะทั้งเป็นของแข็งและของเหลว   และในโลกเรามีหินหนืดที่อยู่ภายในโลก  มีการเคลื่อนหมุนวนด้วยการพาความร้อน    ที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และดันตัวกัน  ก่อให้เกิดเหตุการณ์และลักษณะทางธรณีวิทยาต่างๆในโลก  อย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิก เกิดลักษณะทางธรณีวิทยา ภูเขา  หุบเขาและที่ราบ  ในส่วนของเปลือกโลกและผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการหมุนเวียนของแร่ ธาตุ  เกิดหิน ดินและแร่ธาตุในผิวโลก  เกิดการการผุพังของหินเปลือกโลก  เนื่องจากปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่นแรงโน้มถ่วง  การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  ความชื้น อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้     
         ในการศึกษาการแบ่งโครงสร้างโลก    สามารถแบ่งโครงสร้างโลกตามลักษณะทางกายภาพและตามองค์ประกอบทางเคมี  ได้ดังต่อไปนี้  อ้างอิงจากwww.lesa.biz สามารถศึกษาได้จากลิงค์ดังต่อไปนี้ 

เรียนรู้เบื้องต้นการแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบทางเคมี  โดยศึกษาจากองค์ประกอบทางเคมีของหินและสารต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างโลก    สามารถแบ่งชั้นโครงสร้างโลกได้ดังนี 

      1. ชั้นเปลือกโลก (Crust)  เป็นเสมือนผิวด้านนอกที่ปกคลุมโลก  แบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ  คือเปลือกโลกภาคพื้นทวีป  หมายถึง ส่วนที่เป็นแผ่นดินทั้งหมด ประกอบด้วยธาตุซิลิคอน (Si) และอะลูมิเนียม (Al) เป็นส่วนใหญ่  และเปลือกโลกใต้มหาสมุทร  หมายถึงเปลือกโลกส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำ  ประกอบด้วยธาตุซิลิคอน (Si) และแมกนีเซียม (Mg) เป็นส่วนใหญ่  มีความลึกตั้งแต่ 5 กิโลเมตร  ในส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทรไปจนถึง 70 กิโลเมตร ในบริเวณที่อยู่ใต้เทือกเขาสูงใหญ่

      2. ชั้นเนื้อโลก (Mantle)  เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากชั้นเปลือกโลก  ส่วนมากเป็นของแข็ง  มีความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร นับจากฐานล่างสุดของเปลือกโลกจนถึงตอนบนของแก่นโลก  ชั้นเนื้อโลกส่วนบนเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความเปราะ  ชั้นเนื้อโลกส่วน   กับชั้นเปลือกโลก รวมตัวกันเรียกว่า  “ธรณีภาค” (Lithosphere) ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าชั้นหิน ชั้นธรณีภาคมีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไปชั้นเนื้อโลกถัดลงไปที่ความลึก 100 – 350  กิโลเมตร  เรียกว่าชั้นฐานธรณีภาค (Asthenosphere) เป็นชั้นของหินหลอมละลายร้อนหรือ หินหนืดที่เรียกว่า แมกมาซึ่งหมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้า ๆ  ชั้นเนื้อโลกที่อยู่ถัดลงไปอีกเป็นชั้นล่างสุดอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 350 – 2,900 กิโลเมตร  เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่า  ตอนบนมีอุณหภูมิสูง ตั้งแต่ประมาณ 2,250 – 4,500 ๐C

     3. ชั้นแก่นโลก (Core)  อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกประมาณ  2,900 กิโลเมตร ลงไป  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แก่นโลกชั้นนอกมีความหนาตั้งแต่ 2,900 – 5,100 กิโลเมตร  เชื่อกันว่าชั้นนี้ประกอบด้วยสารเหลวของโลหะเหล็กและนิเกิลเป็นส่วนใหญ่และมีความร้อนสูงมาก  ต่อเนื่องจากแก่นโลกชั้นนอกลงไปเป็นแก่นโลกชั้นนอกแต่อยู่ในสภาพของแข็งเนื่องจาก มีความดันและอุณหภูมิสูงมาก อาจสูงถึง 6,000 ๐C


    จะเห็นได้ว่าชั้นต่างๆ ของโลกมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งทางด้านกายภาพและองค์ประกอบทางเคมี   โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีภายในโลกดังกล่าว    มีอิทธิพลและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แตกต่างกัน ตามที่กล่าวมาเช่นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ และลักษณะทางสัณฐานทางธรณีวิทยาอื่นๆในโลก

ศึกษาเพิ่มYoutube 


โครงสร้างโลก - ดร.พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์

สืบค้นและอธิบายหลักการในการแบ่งโครงสร้างโลก



จุดประสงค์การเรียนรู้
 1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างภายในโลก ได้แก่ แก่นโลก เนื้อโลก และเปลือกโลก และองค์ประกอบทัง้กายภาพและเคมีของวัสดุภายในโลก
 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายโครงสร้างและปรากฏการณ์ภายในโลกได้
  จัดทำโดย :   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ม่วงน้อยเจริญ
 ภาควิชาธรณีวิทยา  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย











โครงสร้างโลก
https://www.youtube.com/playlist?list=PLNMDRXKhHRixk3lvKGl6_2kCjTZz0wo6M


คำแนะนำในการเรียนรู้
แหล่งอ้างอิง

จัดทำโดย.... วีระชัย  จันทร์สุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม