หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

รับการนิเทศ จากโรงเรียนรุ่งอรุณ

รับการนิเทศ  จากโรงเรียนรุ่งอรุณ

โรงเรียนรุ่งอรุณโรงเรียนรุ่งอรุณติดตามไตรสิกขาสู่ห้องเรียน

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560

********************************************************************

ก่อนมาติดตาม (คัดเลือกครู-ส่งแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้/วิดีทัศน์การสอน-ประชุมสะท้อนงาน)

ติดตามการสอนในชั้นเรียน  การสอน(กระตุ้น-สอน/กิจกรรม-สรุป-ประเมิน)

หลังการติดตามการสอน อ.วีระชัย  จันทร์สุข  (บันทึกข้อมูลการสะท้อนในวงสนทนา)

  • การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนอย่างไร

  • มีการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนเป็นอย่างไร  

  • การกำหนด จุดประสงค์การเรียนรู้ว่าอย่างไร มีคุณค่าอย่างไรในตัวผู้เรียน   (เรื่องนี้ไม่รู้ได้ไหม)                        จุดประสงค์นำไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้

  • กิจกรรมการสืบค้นและการแบ่งกลุ่ม การสืยค้นด้วยตนเอง การช่วยเหลือการติดตามก่อนนำเสนอจริง เล่าให้ฟังในวงสนทนาเล็กๆก่อนนำเสนอจริง

  • เอกสารที่เป็นรายงานไม่ได้คัดลอกจากหนังสือมา ไม่ได้วิเคราะห์ 

  • ถ้าเด็กไม่ได้……. ให้ถอยหลังมาที่ตัวครู และการตั้งคำถามของครู

  • คำถามสำคัญ... คำถามสะท้อนการคิด คำถามไปสู่การวิเคราะห์ของนักเรียน

  • วิเคราะห์และนำเสนอควรมาจากหนังสือหลายๆเล่ม จับใจความสำคัญของเด็กที่นำเสนอ

  •  อะไร-ทำไม่-อย่างไร เรื่องมีความสำคัญกับตัวเขาอย่างไร 

  • เด็กการทำงานเป็นกลุ่ม/ไม่เป็นกลุ่ม  ส่งงานทำงานเสร็จ/ไม่เสร็จ  รับผิดชอบ/ไม่รับผิดชอบ    ตรงต่อเวลา/ไม่ตรงต่อเวลา   (.....................)

  • เด็กนิ่ง มีสมาธิจดจอต่อเนื่องอยู่ที่การเรียนรู้  กับเรื่องราวเนื้อหาเรียน (.....................)

  • มีการถามตอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปรายในเนื้อหา (.....................)


เพิ่มเติมกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนรู้

  • ผลสะท้อนจับประเด็นที่สำคัญๆ   ให้อิสระทุกท่านในการสะท้อน ไม่สนทนาเริ่มจากปัญหา

  • มีประเด็นสำคัญ   ควรมีกระดานสำหรับสรุปประเด็นสำคัญ

  • ครูใช้คำถามแนว  How Why

  • การสะท้อนงาน เป็นการทำงานแบบเกื้อกูล กัลยาณมิตรในโรงเรียน

  • ทำงานเป็นทีม อาศัยการฝึกฝน พูดคุย เสวนาและปฎิบัติจริงๆ

  • การสอนครูไม่ต้องกังวลไตรสิกขา(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)อยู่ตรงไหน อยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียน

  • ข้อดี….มีคนคอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลือกัน คิดแนวเดียวกัน  ในกลุ่มเดียวกัน  

  • ทำให้เราไม่โดดเดียวในการสอนในชั้นเรียน



.


https://docs.google.com/document/d/1OvCCovOqbSZl39iDNxybS1BUWzRKaXyj3eS7qo6amdM/edit


วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

งานวิจัยโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน

 งานวิจัยโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน

(การดำเนินงานไตรสิกขาสู่ห้องเรียน)

------------------------------------------------------------------

การดำเนินงาน

  1. ตั้งคณะกรรมการไตรสิกขาสู่ห้องเรียน

  2. ร่วมประชุมวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานไตรสิกขาสู่ห้องเรียน

  3. Roadmapร่วมกัน, AARวันพฤห้สบดีคาบที่1 ทุกสัปดาห์ที่2และ4ของเดือน,งบประมาณ,แนวบูรณาการ,AARรุ่งอรุณอีกครั้ง

  4. บันทึกประชุมAAR,ภาพกิจกรรมประชุม,เงื่อนไขความเข้าใจร่วมกัน

  5. การนำแผนการสอนเดิมมาปรับและจัดกิจกรรม,ตามแบบการบูรณาการร่วมกัน

  6. บันทึกวิดีโอการสอนห้องเรียนเต็มคาบ

  7. การติดตาม การนิเทศ การช่วยเหลือ

  8. แบบประเมินและรายงานผลไตรสิกขาสู่ห้องเรียน


เครื่องมือวิจัยในการประเมินไตรสิกขา

  1. แผนการเรียนรู้ที่ได้ปรับแล้ว

  2. บันทึกวิดีโอการสอนห้องสาธิตเต็มคาบ

  3. บันทึกวิดีโอ AAR




วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Thinking School

Thinking School
โรงเรียนที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดให้กับเด็ก
เป็นโรงเรียนที่ตระหนักในความสำคัญของทักษะการคิด  และสอนทักษะการคิดให้ นักเรียนทั้งโรงเรียน



คุณค่าของกิจกรรม
นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
กระตุ้นพัฒนาการทางความคิดของผู้เรียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  ให้กับผู้เรียนผ่านวิธีการใช้เครื่องมือสอนคิด
- การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐาน
- นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นที่ยอมรับในระดับสากล


การจัดการชั้นเรียน 4 ขั้นตอน 
ขั้นการสอนThink school
   1. Do now 
   2. Purpose
   3. Work Model
   4. Reflective Thinking


เครื่องมือสอนคิด
Thinking Tool
10 เครื่องมือ และ Creative Thinking & Critical Thinking

1. PMI- กิจกรรมที่ขบคิดถึงข้อดี-ข้อเด่นและจุดที่น่าสนใจ ข้อเสนอแนะ

2. OPV- กิจกรรมที่แสดงถึงมุมมองการคิดของคนอื่นจากสถานการณ์ หรือปัญหา

3. Comparison and Contrast - กิจกรรมช่วยผู้เรียนให้เห็นที่เปรียบเที่ยบความเหมือนและความแตกต่าง

4. Cause and Effect- กิจกรรมกระตุ้นความคิดผุ้เรียนคิดถึงเหตุและผล

5. Mind Maping- กิจกรรมสรุปความรู้  ถ่ายทอดความคิดเชื่อมโยงฝึกสมองซีกซ้ายและขวา

6. Diagram- สรุปความคิดเป็นแผนภาพอย่างเป็นระบบ

7. KWL - ต้องการรู้อะไร

8. Rankin - ลำดับการเลือกมากน้อย

9. CAF - ช่วยคิด18หัวข้อ

10. Six Thinking Hat - คิดหลากหลายมุม


แหล่งอ้างอิง

รวบรวมและจัดทำโดย.....
นายวีระชัย   จันทร์สุข


Play List Youtube



วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ทักษะการสร้างแบบจำลอง

ทักษะการสร้างแบบจำลอง
(Construct Model)
******************
ภาพแบบจำลองกระบวนการเกิดหินแปร

      การนำเสนอข้อมูลแนวคิด ความคิดรวบยอดเพื่อให้ผู้อื่น เข้าใจในรูปแบบจำลอง ต่างๆ
เช่น กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์เป็นต้น (สสวท.)

      นำเสนอแนวคิดหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของแผนภาพ ชิ้นงาน สมการณ์ ข้อความ
คำพูด และ/หรือ
แบบจำลองเพื่ออธิบายความคิดหรือวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ (สสวท.)

     แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ (scientific modeling) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน
วัตถุ กระบวนการ 
ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา
เพื่อให้วิศวกร สามารถคำนวณต่างๆได้ ก่อนที่จะสร้างจริง ไม่ว่าจะเป็น แบบจำลองคณิตศาสตร์
แบบจำลองแบบไม่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น แบบจำลองการทดสอบเชิงจิตวิทยา
แบบจำลองที่เป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ แบบจำลองที่ใช้แผนภาพ เช่น แบบจำลองการเพิ่ม
ของจำนวนกระต่าย
หรือ แบบจำลองสามมิติ (จาก Wikipedia )

       แบบจำลองกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ (Models and science education)
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ที่มีแบบจำลองเป็นฐาน บทความเริ่มต้นด้วยการนำเสนอนิยาม ลักษณะสำคัญ
และประเภทของแบบจำลอง จากนั้น บทความนำเสนอว่า
นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
และครูใช้แบบจำลองในการปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร บทสรุปโดยรวมเปิดเผยว่า
นักเรียนมีแนวโน้มที่จะมี “มุมมองด้านการเรียน” ในขณะที่ครูมี “มุมมองด้านการสอน”
โดยทั้งนักเรียนและครูมักละเลย “มุมมองด้านการวิจัย”  ซึ่งแบบจำลองมีบทบาทสำคัญ
ต่อการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์
ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ “จาก” “ด้วย” และ “เกี่ยวกับ” แบบจำลอง
(ลฎาภา ลดาชาติ Ladapa Ladachart คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
(Faculty of Education, Chiang Mai University)
ABSTRACT)

         แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เพื่ออธิบาย
และทำนายปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติ เป้าหมายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศ
จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจ ธรรมชาติของแบบจำลอง (ความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลอง
ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา, พจนารถ สุวรรณรุจิ บทคัดย่อ)


ภาพแบบจำลองสมบัติของของเหลว


ตัวอย่างแบบจำลอง
แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ การสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์
หรือ สถานการณ์
แบบจำลองแผนภาพ
แบบจำลองรูปภาพ
แบบจำภาพเคลื่อนไหว
สิ่งประดิษฐ์
แบบจำลองวงจรความสัมพันธ์
แบบจำลองตาราง กราฟ
แบบจำลองแผนภาพสองมิติ
แบบจำลองสิ่งของสามมิติ
แบบจำลองสถานการณ์จำลอง
แบบจำลองโครงสร้าง
แบบจำลองการทดสอบ
กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์



แหล่งอ้างอิง

รวบรวมและจัดทำโดย.....
นายวีระชัย   จันทร์สุข

Youtube


Play List Youtube

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

Plan

แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ
-------------------------------------------------------------------------------------
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1โครงสร้างของโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรณีภาค      
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา         
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ธรณีประวัติ

ผู้ติดตาม